ป.ปลา นั้นหายาก ต้องลำบากออกเรือไป

Photo by SAM LIM on Pexels.com

ขนส่งจากแดนไกล ใช้น้ำแข็ง เปลืองน้ำมัน

แช่เย็นก็เสียไฟ หุงต้มไซร้แก๊สทั้งนั้น

พลังงานต้องหมดกัน โอ้ลูกหลานจำจงดี

เมื่อมนุษย์พัฒนาเทคโนโลยีในการสื่อสารและเดินทาง การติดต่อค้าขายก็สามารถทำได้ง่ายขึ้น โลกของแต่ละคนก็ขยายใหญ่ขึ้นเมื่อระยะทางลดลงและสามารถเชื่อมถึงกันได้ง่ายขึ้น

คำว่า Lingua Franca แปลว่าภาษากลาง แต่แปลตรงตัวว่าภาษาชาวแฟรงค์ ซึ่งเป็นชนเผ่าในทวีปยุโรปตะวันตกที่ชอบเดินทาง มีนิสัยจริงใจ ชอบพูดตรง ๆ ซึ่งหลังการล่มสลายของอาณาจักรโรมันก็ได้รวมตัวกันสร้างอาณาจักร Francia ซึ่งกลายมาเป็นประเทศฝรั่งเศสในที่สุด แต่ในยุคนั้นอิทธิพลของ Francia แผ่ขยายมาก คำว่า frank ในภาษาอังกฤษที่แปลว่าคนตรง ๆ ไปจนถึงชื่อของเมือง Frankfurt ก็ได้รับอิทธิพลมาจากอาณาจักรนี้ และอาจเป็นที่มาว่าทำไมไม่ได้มีแต่คนไทยที่เรียกชาวตะวันตกผิวขาวว่า “ฝรั่ง”

ยุโรปยุคกลางเป็นยุคของนครรัฐและอาณาจักร ยังไม่มีแนวคิดเรื่องประเทศ แต่ละท้องถิ่นมีภาษาและวัฒนธรรมของตน แต่เมื่อมีกลุ่มคนที่มีความหลากหลายอยู่ในดินแดนที่เชื่อมต่อกับทางบก จึงสามารถเดินทางและติดต่อค้าขายกันได้โดยง่าย

ด้วยประสบการณ์และความสามารถของรวมกับแรงจูงใจทางเศรษฐกิจของคนค้าขาย การประเมินค่าของสินค้าและเจรจาเพื่อต่อรองราคาแลกเปลี่ยนสามารถทำได้เสมอ แม้สื่อสารกันคนละภาษา แต่หากเงินเป็นที่ยอมรับก็สามารถแลกเปลี่ยนได้ง่าย แม้ว่าเงินจะเป็นไม่เป็นที่ยอมรับ ขอเพียงต่างฝ่ายต่างสามารถยื่นหมูยื่นแมวได้ ถึงจะต้องยากลำบากแค่ไหน มีต้นทุนเท่าไรเพื่อการขนส่งจากแดนไกล แต่หากทำกำไรได้ การค้าก็เกิดขึ้นได้เพราะนั่นคืออาชีพของพวกเขา

นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าปัจจัยที่ทำให้ภาษากลางถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นเพราะสงครามครูเสดที่เหล่าผู้ศรัทธาในคริสตจักรออกเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลไปยังตะวันออกกลางเพื่อทำสงครามศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากกองทัพครูเสดประกอบด้วยผู้คนมากหน้าหลายตา ต่างอาณาจักร ต่างวัฒนธรรม ต่างภาษา แต่จำเป็นต้องสื่อสารระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพให้ได้เพราะเป็นเรื่องของความเป็นความตาย ต่างกับพ่อค้าที่มีเวลาในการเจรจาแม้จะไม่รู้ภาษาก็ตาม จึงเป็นที่มาของความจำเป็นที่จะต้องมีภาษากลาง ซึ่งก็ได้เลือกใช้ภาษาชาวแฟรงค์ จึงเป็นที่มาของการเรียกภาษากลางว่า Lingua Franca ในที่สุด

ภาษากลางเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในหลากหลายวัฒนธรรมและสังคม อย่างเช่น ในเอเชียกลางยุคก่อนคริสตกาลเป็นภาษาแอราเมอิก ในหมู่นักวิชาการชาวยุโรปในยุคเรอเนสซองส์ใช้ภาษาละติน หรือในอินเดียใช้ภาษาสันสกริตเป็นต้น 

การเป็นภาษากลางนั้นขึ้นอยู่กับการยอมรับ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากความสมัครใจจะใช้กันอย่างแพร่หลาย หรือมาจากการกำหนดกติกาก็ได้ และขึ้นอยู่กับการใช้งาน อย่างเช่น ภาษากลางของการค้าและวิชาการ อาจจะเป็นภาษาอังกฤษ แต่ภาษาการฑูตและกฏหมายระหว่างประเทศ มี 6 ภาษา ได้แก่ อาหรับ จีนกลาง อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย สเปน เป็นต้น ผู้ที่สามารถสื่อสารด้วยภาษากลางได้ก็จะได้รับความสะดวก และผู้ที่ใช้ภาษานี้มาตั้งแต่เกิดก็อาจได้เปรียบผู้ที่ต้องมาเรียนรู้ใหม่ด้วย

เมื่อเงินเป็นเทคโนโลยีในการเก็บข้อมูล Lingua Franca ของการเงินก็อาจเปรียบกับสกุลเงิน เมื่อมีแล้วก็ทำให้ประชาชนสามารถทำการค้าและเปลี่ยนกันเองได้อย่างอิสระ (decentralized exchange) ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาพ่อค้าตัวกลาง และหากพิจารณาจากมุมมองของภาษา สกุลเงินที่เป็น ภาษากลางก็อาจเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของสกุลเงินนั้นเช่นกัน จึงไม่น่าแปลกใจหากแต่ละประเทศจะอยากมีสกุลเงินเป็นของตนเอง

Leave a comment

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s