เหรียญเปลี่ยนชีวิต

Photo by Hasan Albari on Pexels.com

เรื่องราวความเป็นเจ้าของก้อนหิน rai stone ที่เล่าสืบต่อกันอาจเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ในหมู่บ้านหนึ่ง แต่เมื่อข้ามไปอีกหมู่บ้านหนึ่งอาจไม่ได้รับการยอมรับก็ได้ การพึ่งพาเงินข้อมูลจะเป็นประโยชน์ในวงกว้างได้ก็ต่อเมื่อฐานข้อมูลสามารถทำงานข้ามกันได้ (interoperable) ทำให้เงินสัญลักษณ์ (token-based money) มีความจำเป็น แต่หากเงินก้อนหินสามารถแปลงสภาพกลายเป็นเงินที่อิงความเป็นเจ้าของในก้อนหินได้ เงินสัญลักษณ์ประเภทอื่นสามารถแปลงสภาพได้หรือไม่

ในยุคที่ทองคำเป็นเงิน ปัญหาที่มักพบคือทองคำมีมูลค่าที่สูงเทียบกับปริมาตร หากทองคำถูกแปรรูปเป็นแท่ง (bullion) การนำทองคำแท่งมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันอาจเกินความจำเป็น เพราะสิ่งที่ซื้ออาจไม่ได้มีมูลค่าสูงเท่าทองคำแท่งนั้น แต่หากพ่อค้าแม่ค้าจะทอนให้ จะทอนด้วยอะไรหากเงินในระบบเศรษฐกิจนั้นมีแต่ทองคำแท่ง

หน่วยเงินที่ย่อยที่สุดจะเป็นเครื่องกำหนดราคาและความสามารถในการเปลี่ยนแปลงราคา หากประเทศไทยมีแต่เงินสด และการเหรียญขั้นต่ำมีแต่เหรียญ 5 บาทเท่านั้น การปรับราคาขั้นต่ำในแต่ละครั้งก็ต้องปรับทีละ 5 บาท การชำระเงินขั้นต่ำก็ต้องทีละ 5 บาท หากต้องการขายที่ราคาต่ำกว่า 5 บาทก็คงต้องขายครั้ง ๆ ละหลาย ๆ ชิ้น ปัญหาเหล่านี้ได้หมดไปแล้วในบริบทของปัจจุบัน แต่ในอดีต ความไม่สะดวกในการชำระเป็นอุปสรรคที่นำมาซึ่งนวัตกรรมมากมาย

เหรียญที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ได้รับการบันทึกคือเหรียญของอาณาจักรลิเดีย (บริเวณตะวันตกในประเทศตุรกีในปัจจุบัน) ในยุค 600 ปีก่อนคริสตกาล เป็นเหรียญที่หลอมมาจากทองคำและเงินแท้ ในยุคนั้นมีเหรียญหลายขนาด แบ่งเสี้ยว (division / fractionalization) เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ในหลายบริบท ไม่ว่าจะเป็นการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวันหรือเพื่อการเก็บออมในฐานะรักษามูลค่า (store of value) 

ในปัจจุบันมีทางเลือกในการรักษามูลค่ามากมาย เมื่อได้เงินมาแล้วไม่จำเป็นถือเป็นเงิน แต่สามารถนำไปแปลงเป็นสินทรัพย์การเงินรูปแบบอื่นได้ เช่น บัญชีเงินฝาก กองทุนรวม หุ้นสามัญ แต่ในบริบทของสังคมในอดีต การมีวัตถุคงทน (durable) ไม่เน่าเสียหรือเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา (nonperishable) ก็ถือว่าเป็นนวัตกรรมที่ดีมากแล้ว

เงินและทองคำที่ทั้งสวยงามน่าพิศมัย (desirable) เป็นที่ต้องการ คงทนไม่ผุพังเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา แต่สามารถนำไปขึ้นรูป (malleable) เพื่อแบ่งย่อยได้ และหายากมากพอ จึงกลายเป็นเงินนอก (outside money) ที่ตอบโจทย์ในยุคนั้น

Leave a comment

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s